วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันพุธ ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 6 กลุ่ม 102
ความรู้ที่ได้รับ
-ได้รู้จักวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานศิลปะ
-ได้รู้จักประเภทของวัสดุและอุปกรณ์ในงานศิลปะ
-ได้รู้จักประเภทของสีที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปเนื้อหาที่เรียน ได้ดังนี้
การนำไปใช้
ทำให้เรารู้จักและวิธีเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเด็กและได้รู้ว่าวัสดุอุปกรณ์อันไหนที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก ถ้าเราเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ดีและเหมาะสมกับวัยและช่วงอายุของก็จะทำให้เกิดความสนุกสนานกับทำงานศิลปะ
ประเมินตนเอง
วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจฟังอาจารย์ที่บรรยายเนื้อในวันนี้
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียนดีค่ะ เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่งตัวถูกระเบียบตามกฏ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์สอนสนุกบรรยายเนื้อละเอียดและเข้าใจและมาสอนตรงต่อเวลา
เกร็ดความรู้เพื่อครู
1.ให้คะแนน หรือรางวัล เช่น ดาว สติกเกอร์ เป็นต้น การให้คะแนนหรือรางวัลนั้นคุณครูบางท่านอาจจะมองว่าเป็นการสร้างแรงเสริมให้กับเด็กแต่ในทางกลับกันสิ่งที่เด็กจะได้ก็คือความไม่กล้าที่จะลองเพราะกลัวว่าออกมาไม่สวยได้คะแนนไม่ดีความกลัวว่าผลงานของตนจะไม่ดีพอไม่สวยพอเปรียบเทียบและแข่งขันกับเพื่อนนอกจากนี้ยังทำให้เด็กคิดว่าการทำงานต้องมีผลทางวัตถุตอบแทนจึงให้ความสนใจที่ผลตอบแทนมากกว่ากระบวนการเรียนรู้และยังจำกัดความคิดและสร้างสรรค์อย่างอิสระเนื่องจากนักเรียนมุ่งหวังที่จะสร้างผลงานให้ถูกใจครูเพื่อที่จะได้รับคะแนนดีหรือรางวัลซึ่งจริงๆแล้วศิลปะนั้นถือว่าเป็นการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดอย่างหนึ่งของแต่ละบุคคลดังนั้นศิลปะไม่ควรถูกมองว่ามีถูกหรือผิดมีสวยมากหรือสวยน้อยมีดีมากหรือดีน้อยการที่เราให้คะแนน หรือรางวัลถือว่าเป็นการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อตัดสินความคิด ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวนั้นไม่มีมาตรฐานเพราะขึ้นอยู่กับความคิดและความพอใจของผู้สอนแต่ละบุคคลจึงไม่ควรอย่างยิ่งที่ครูจะตัดสินผลงานของเด็กด้วยการให้คะแนน หรือรางวัล
2.ให้นักเรียนระบายสี และตัดแปะกระดาษในกรอบศิลปะเป็นการสื่อความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆสื่อสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็นรูปธรรมการให้นักเรียนทำงานศิลปะที่มีกรอบกำหนดนั้น (pre-draw)เป็นการจำกัดความคิดสร้างสรรค์อย่างมากเนื่องจากรูปถูกกำหนดตายตัวไว้แล้วนักเรียนไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนตาจินตนาการของตนได้และต้องทำตามแบบฉบับที่ถูกกำหนดไว้ครูควรคำนึงว่า งานศิลปะนั้นเป็นงานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่กิจกรรมที่เน้นความสวยงามในแบบที่ผู้ใหญ่คาดหวังไว้กิจกรรมศิลปะควรเป็นกิจกรรมปลายเปิดที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติและสร้างสรรค์ผลงานตามความรู้สึกของตน
3.ใช้กระดาษที่ตัดเป็นรูปร่างสำเร็จแล้วการใช้กระดาษที่ตัดเป็นรูปร่างสำเร็จ (pre-cut shapes)ในการตัดแปะนั้นสิ่งที่เด็กจะได้รับก็คือ การรู้จักแปะรูปด้วยกาวและการจัดวางเพื่อให้เกิดความเหมือนกิจกรรมในลักษณะนี้เป็นงานที่จำกัดความคิดสร้างสรรค์และเน้นเพียงความสวยงามและความเหมือนซึ่งขึ้นอยู่กับความพอใจและความคิดของผู้สอนกิจกรรมไม่ได้สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กดังนั้นคุณครูควรหลีกเหลี่ยงการตัดกระดาษสำเร็จรูปให้นักเรียนควรให้นักเรียนฉีก ตัด กระดาษเป็นรูปร่างต่างๆตามความคิดส่วนตัว
4.วาด รูปเป็นตัวอย่างให้เด็กดูเป็นตัวอย่างการที่คุณครูวาดภาพให้เด็กดูเป็นตัวอย่างนั้นส่งถึงผลเสียมากกว่าผลดีเพราะเป็นธรรมดาที่เด็กนั้นจะชื่นชมผลงานของครูและต้องการที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้ได้เหมือนกับของผู้ใหญ่ และเมื่อเขาไม่สามารถทำให้เหมือนได้เขาก็จะรู้สึกท้อแท้ ผิดหวังในตนเอง และจะทำให้เขารู้สึกไม่ดีต่อกิจกรรมนั้น ๆ และต่อตนเอง
5.ช่วยแก้ปัญหาโดยการทำให้เวลาที่นักเรียนวาดอะไรไม่ได้บางทีคุณครูก็จะช่วยด้วยการทำให้ซึ่งวิธีนั้นทำให้นักเรียนไม่รู้จักอดทนต่อการแก้ปัญหา และไม่พยายามเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง ถ้านักเรียนวาดรูปไม่ได้ครูควรพูดแนะนำเพื่อทำให้ขั้นตอนการวาดง่ายขึ้นและใช้คำถามกระตุ้นเพื่อเด็กคิดเช่น “หน้าของหมามีรูปทรงอย่างไงเป็นสี่เหลี่ยม หรือวงกลม และตัวหมาเป็นรูปทรงอะไร ”หรือให้แนะนำให้เด็กรู้จักการค้นคว้าและหาข้อมูลรอบตัวในการแก้ปัญหา เช่น “เราลองไปหารูปหมาในหนังสือเป็นตัวอย่างดีไหมบางทีการที่เราได้เห็นรูป ”
นางสาวชลธิชา ป้องคำ 5511203910
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น